พิธีสงฆ์

พิธีสงฆ์

ตามธรรมเนียมไทย เมื่อทำพิธีหรืองานมงคลใดๆ ก็ตาม เพื่อเป็นการสร้างสิริมงคล ย่อมต้องมีเรื่องการทำบุญสร้างกุศลมาเกี่ยวข้องเสมอ  และงานแต่งงานก็เช่นเดียวกัน ซึ่งตามประเพณีดั้งเดิมนั้น การนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์จะทำในช่วงเย็นของวันสุกดิบ ซึ่งเป็นวันก่อนวันแต่งงานหนึ่งวัน และในวันแต่งงานจะมีเฉพาะการตักบาตรร่วมกันในตอนเช้า แต่ในปัจจุบันนิยมทำพิธีกันในช่วงเช้าวันเดียวกัน เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและสะดวกมากขึ้น 

  

 

สำหรับการนิมนต์พระมาสวด ในอดีตนิยมมาเป็นคู่ เช่น 4 หรือ 8 รูป แต่ปัจจุบันนิยมเป็น 9 รูป เนื่องจากเชื่อว่า เลข 9 เป็นเลขมงคล แสดงถึงความเจริญก้าวหน้า และนับพระประธานเป็นองค์ที่ ๑๐ ครบจำนวนคู่พอดี ในการทำพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ทั่วไปนั้น เจ้าภาพจะทำหน้าที่จุดธูปเทียนบูชาพระ แต่ในงานมงคลสมรสมักนิยมให้คู่บ่าวสาวค่ะ เพราะถือว่าเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในงาน รวมถึงการถวายขันและเทียนเพื่อให้พระทำน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งจะนำมาเป็นน้ำสังข์สำหรับหลั่งในพิธีรดน้ำต่อไป 

    

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์

 

สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์มีขั้นตอนดังนี้ เมื่อพระสงฆ์มาถึงและนั่งที่อาสนะแล้ว คู่บ่าวสาวจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (เจ้าบ่าวนั่งทางฝั่งขวามือของเจ้าสาว) อาราธนาศีล และรับศีล 5 รวมไปจนถึงการถวายขันและเทียนเพื่อให้พระสงฆ์ทำน้ำพระพุทธมนต์

 

จากนั้นเจ้าพิธีจะอาราธนาพระปริตร หมายถึงการขอให้พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เพื่อกำจัดทุกข์และโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ไปจนถึงบทมงคลสูตร เจ้าพิธีจะจุดเทียนชนวนเพื่อเป็นการขอให้พระสงฆ์ทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับใช้ในพิธี น้ำพระพุทธมนต์ที่เกิดจากการสวดพระปริตรนี้ถือว่าเป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ จะนำมาเป็นน้ำสังข์สำหรับหลั่งในพิธีรดน้ำและใช้ในกาลมงคลต่อๆ ไป

  

ขั้นตอนต่อไป จะต่อด้วยการตักบาตร ตามความเชื่อของคนไทยโบราณ เชื่อกันว่า หากชายหญิงได้มีโอกาส "ทำบุญร่วมชาติ ตักบาตรร่วมขัน" ต่อไปจะได้เกิดมาเป็นคู่กันในทุกชาติไป โดยในสมัยก่อนจะให้คู่บ่าวสาวตักคนละทัพพี แต่ปัจจุบันนิยมให้ตักทัพพีเดียวกัน ตักบาตรพร้อมกัน ต่อไปชาติหน้าจะได้เกิดมาคู่กันอีก

 

 

โดยในการตักบาตรนี้ มีคติความเชื่ออันหนึ่งเกี่ยวกับการตักบาตรของคู่บ่าวสาวว่า ถ้าผู้ใดจับที่คอทัพพีหรือจับทัพพีอยู่ด้านหน้า ผู้นั้นจะได้เป็นใหญ่เหนือคู่ของตน หรือได้เป็นผู้นำครอบครัว แต่เพื่อความเสมอภาค ไม่ให้ใครใหญ่เหนือใคร คู่บ่าวสาวอาจแก้เคล็ดโดยการการผลัดกันจับที่คอทัพพีอย่างนี้ดีกว่าค่ะ

  

 เมื่อตักบาตรเสร็จแล้ว จะเป็นการถวายภัตตาหารเช้า / เพล โดยเริ่มจากถวายอาหารแด่พระพุทธ แล้วจึงประเคนอาหารคาวหวานถวายแด่พระสงฆ์ หรืออาจจัดเป็นปิ่นโตที่มีอาหารคาวหวาน ถวายพร้อม ธูป เทียน ปัจจัย เครื่องไทยธรรมได้เช่นกัน 

 

พระสงฆ์อนุโมทนา และขึ้นบทสวด "ยะถา.. สัพพี.." คู่บ่าวสาวจะกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับเทพยดา เจ้ากรรมนายเวร บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ จากนั้นจะถึงพิธีในขั้นตอนสุดท้าย พระสงฆ์จะเจริญชัยมงคลคาถา พร้อมประพรมน้ำมนต์และเจิมหน้าผากให้แก่คู่บ่าวสาวจึงเป็นอันเสร็จพิธี 

 

 


  • cin-346.jpg
    เมื่อใกล้ถึงเวลาฤกษ์ ทางเจ้าพิธี จะดำเนินการจัดขบวนขันหมากให้แก่เจ้าบ่าว เพื่อเตรียมเคลื่อนขบวนเข้ามาสู่ขอเจ้าสาว โดยในขบวนขันหมากนั้นจะที่มีทั้ง พานขันหมากเอก (พานขันหมากหลัก) และ...

  • Rodmay&Top459.jpg
    พิธีสู่ขอและตรวจนับสินสอด หลังจากที่พิธีแห่ขบวนขันหมากเสร็จสิ้น จะนำพานขันหมากเอก พานธูปเทียนแพ พานสินสอดเงิน พานสินสอดทอง และพานแหวน มาเรียงไว้บนโต๊ะด้านหน้าของพิธี นายพิธีจะเรีย...

  • Wedding 16-03-2019 D-1439.jpg
    พิธีหมั้น หลังจากเสร็จพิธีสู่ขอจะเป็นพิธีการสวมแหวนหมั้น โดยขั้นตอนจะเริ่มจากการให้ฝ่ายเจ้าสาวกราบฝ่ายเจ้าบ่าวที่ตักหรือระดับอกหนึ่งครั้ง ส่วนเจ้าบ่าวจะต้องรับมือพนมของเจ้าสาวด้วย...

  • Rodmay&Top594.jpg
    พิธีรับไหว้ หรือ พิธีผูกข้อมือ หลังเสร็จพิธีหมั้น จะเป็น "พิธีรับไหว้" หรือ “พิธีรดน้ำสังข์” ซึ่งสามารถสลับลำดับพิธีก่อน-หลังได้เลยนะคะ ขึ้นอยู่กับฤกษ์ที่ทางพระให้มา แต่ส่วนใหญ่ ...

  • cin-669.jpg
    พิธีรดน้ำสังข์ "พิธีรดน้ำสังข์" หรือ "พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพร" ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการแต่งงานแบบไทยที่มีความงดงามและเต็มไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมของไทยแท้ๆ โดยขั้...

  • Wedding 16-03-2019 D-2860.jpg
    พิธีปูที่นอน และพิธีส่งตัวเข้าหอ สำหรับ พิธีส่งตัวเข้าหอ และพิธีปูที่นอนหรืออีกชื่อหนึ่งคือ “พิธีร่วมเรียงเคียงหมอน” นั้น ถือเป็นส่วนท้ายสุดของพิธีการ ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมี คื...
Visitors: 45,686