พิธีรับไหว้ หรือ พิธีผูกข้อมือ

พิธีรับไหว้ หรือ พิธีผูกข้อมือ

 

หลังเสร็จพิธีหมั้น จะเป็น "พิธีรับไหว้" หรือ “พิธีรดน้ำสังข์” ซึ่งสามารถสลับลำดับพิธีก่อน-หลังได้เลยนะคะ ขึ้นอยู่กับฤกษ์ที่ทางพระให้มา แต่ส่วนใหญ่ นิยมจัดพิธี "พิธีรับไหว้" หรือ "พิธีไหว้ผู้ใหญ่" ก่อน แล้วจึงตามต่อด้วย “พิธีรดน้ำสังข์” ค่ะ

สำหรับพิธีรับไหว้นั้น ถือว่าเป็นพิธีที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการแสดงออกถึงการมีสัมมาคารวะ ความนอบน้อมต่อบิดามารดา และบรรดาญาติผู้ใหญ่ เป็นการฝากเนื้อฝากตัวของคู่บ่าวสาว ซึ่งคำว่า "รับไหว้" หมายถึง "ไหว้ตอบ" คือรับความเคารพจากคู่บ่าวสาวด้วยการให้ของตอบแทนหรือให้ศีลให้พร

  

 

 

  ขั้นตอนพิธีรับไหว้

 

ตามธรรมเนียมพิธีรับไหว้แต่เดิมนั้น คู่บ่าวสาวจะต้องถือพานดอกไม้ธูปเทียนคลานเข้าไปไหว้ผู้ใหญ่ แต่ในปัจจุบันอาจเป็นเพราะความไม่สะดวกของสถานที่ จึงเปลี่ยนมาจัดจัดโต๊ะเก้าอี้หรือปูเสื่อพรมสถานที่รับไหว้ เตรียมไว้เพื่อให้เป็นการสะดวกของคู่บ่าวสาว ผู้ใดจะทำพิธีรับไหว้ก็มานั่งในสถานที่นั้นต่อหน้าคู่บ่าวสาว ครั้นพอทำพิธีเสร็จแล้วจึงลุกออกไปเพื่อให้ผู้อื่นเข้ามาทำพิธีรับไหว้ต่อ โดยญาติผู้ใหญ่จะผลัดเปลี่ยนกันไปทำพิธีรับไหว้อย่างต่อเนื่อง พิธีรับไหว้นั้นจะไล่เรียงไปตามลำดับอาวุโส เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ฯลฯ ส่วนใหญ่พ่อแม่ของฝ่ายหญิงซึ่งเป็นเจ้าของบ้านจะให้เกียรติทางฝ่ายชายทำพิธีรับไหว้ก่อน หรือจะไหว้ปู่ ยา ตา ยาย ของทั้ง 2 ฝ่ายก่อนก็ได้

 

 โดยการรับไหว้นั้น คู่บ่าวสาวจะยกพานธูปเทียนแพและผ้าไหว้คลานเข้าไปกราบบิดามารดา ถือเป็นการฝากเนื้อฝากตัวแสดงความเคารพ ซึ่งผู้ใหญ่จะรับไหว้คู่บ่าวสาวพร้อมทั้งกล่าวให้ศีลให้พร ให้ลูกทั้งสองมีแต่ความสุขความเจริญ แล้วจึงหยิบด้ายมงคลหรือสายสิญจน์มาผูกข้อมือให้คู่บ่าวสาวเป็นการรับขวัญ จากนั้นคู่บ่าวสาวจึงยกผ้าไหว้ส่งให้ญาติผู้ใหญ่ หลังจากรับผ้าไหว้ผู้ใหญ่ก็จะวางซองเงินในพานให้คู่บ่าวสาวเพื่อเป็นเงินทุน ขั้นตอนนี้ญาติพี่น้องอาจจะสมทบทุนเพิ่มให้ด้วยตามอัธยาศัยได้เลยค่ะ ทั้งนี้หากเป็นพ่อแม่หรือผู้หลักผู้ใหญ่ของฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาว เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ผู้ทำพิธีจะให้กราบที่หมอนสามครั้ง แต่ถ้าเป็นญาติอื่นๆ ทั่วไป ก็ให้กราบโดยไม่ต้องแบมือเพียงหนึ่งครั้ง

 

 

สาระสำคัญของการรับไหว้ ก็เพื่อให้ผู้น้อยแสดงความเคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่ แต่ความสำคัญอีกอย่าง ก็เพื่อเป็นการมอบของมีค่า เช่น สร้อยคอ ทองคำ แหวน เพชร เงิน ต่างๆ เพื่อเป็นทุนให้บ่าวสาวไว้ใช้ประกอบกิจการงานต่างๆ ตามต้องการ หรือจะเรียกว่าเป็นการมอบเงินตั้งตัวให้แก่คู่บ่าวสาวนั่นเองค่ะ

 

 


  • _U1W8684.jpg
    พิธีสงฆ์ ตามธรรมเนียมไทย เมื่อทำพิธีหรืองานมงคลใดๆ ก็ตามเพื่อเป็นการสร้างสิริมงคลย่อมต้องมีเรื่องการทำบุญสร้างกุศลมาเกี่ยวข้องเสมอ และงานแต่งงานก็เช่นเดียวกัน ซึ่งตามประเพณีดั้งเดิ...

  • cin-346.jpg
    เมื่อใกล้ถึงเวลาฤกษ์ ทางเจ้าพิธี จะดำเนินการจัดขบวนขันหมากให้แก่เจ้าบ่าว เพื่อเตรียมเคลื่อนขบวนเข้ามาสู่ขอเจ้าสาว โดยในขบวนขันหมากนั้นจะที่มีทั้ง พานขันหมากเอก (พานขันหมากหลัก) และ...

  • Rodmay&Top459.jpg
    พิธีสู่ขอและตรวจนับสินสอด หลังจากที่พิธีแห่ขบวนขันหมากเสร็จสิ้น จะนำพานขันหมากเอก พานธูปเทียนแพ พานสินสอดเงิน พานสินสอดทอง และพานแหวน มาเรียงไว้บนโต๊ะด้านหน้าของพิธี นายพิธีจะเรีย...

  • Wedding 16-03-2019 D-1439.jpg
    พิธีหมั้น หลังจากเสร็จพิธีสู่ขอจะเป็นพิธีการสวมแหวนหมั้น โดยขั้นตอนจะเริ่มจากการให้ฝ่ายเจ้าสาวกราบฝ่ายเจ้าบ่าวที่ตักหรือระดับอกหนึ่งครั้ง ส่วนเจ้าบ่าวจะต้องรับมือพนมของเจ้าสาวด้วย...

  • cin-669.jpg
    พิธีรดน้ำสังข์ "พิธีรดน้ำสังข์" หรือ "พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพร" ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการแต่งงานแบบไทยที่มีความงดงามและเต็มไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมของไทยแท้ๆ โดยขั้...

  • Wedding 16-03-2019 D-2860.jpg
    พิธีปูที่นอน และพิธีส่งตัวเข้าหอ สำหรับ พิธีส่งตัวเข้าหอ และพิธีปูที่นอนหรืออีกชื่อหนึ่งคือ “พิธีร่วมเรียงเคียงหมอน” นั้น ถือเป็นส่วนท้ายสุดของพิธีการ ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมี คื...
Visitors: 45,665